หน้าแรก เกร็ดความรู้ทั่วไป King of Thailand พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙

King of Thailand พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙

พระองค์ท่านมีพระนามเต็มว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร” เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี และทรงครองสิริราชสมบัตินานที่สุดถึง ๗๐ ปี (๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ – ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระนามเดิมว่า “พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช” มีความหมายดังนี้ ภูมิพล หมายถึง “พลังแห่งแผ่นดิน” (ภูมิ หมายความว่า “แผ่นดิน” และ พล หมายความว่า “พลัง”) อดุลยเดช หมายถึง “อำนาจที่ไม่อาจเทียบได้” (อดุลย หมายความว่า “ไม่อาจเทียบได้” และ เดช หมายความว่า “อำนาจ”)

ทรงเสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐

พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (พระบิดา) และหม่อมสังวาล (พระมารดา) ทรงเสด็จพระราชสมภพ ณ โรงพยาบาลเมานท์ออเบอร์น (MOUNT AUBURN) รัฐเมสสาชูเขตต์ (MASSACHUSETTS) ประเทศสหรัฐอเมริกา

มีพระเชษฐภคินี (พี่สาว) และพระเชษฐา (พี่ชาย) คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ประสูติเมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๖๖ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ กับพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๖๘ ณ เมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมนี

การศึกษา

เมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๕ ทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี กรุงเทพมหานคร ทรงเจริญพระชนมายุ ๕ พรรษา ขณะนั้น ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองบ้านเมืองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย เกิดความวุ่นวายทางการเมือง หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา (สมเด็จย่า) จึงทรงนำพระธิดา และพระโอรส เสด็จไปประทับ ณ กรุงโลซานน์

พระองค์ทรงเสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่โรงเรียนเมียร์มองต์ (MERRIMENT) ณ เมืองโลซานน์ (LASAGNA) ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๗๘ ได้ทรงเข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาที่ CEDE NOUBELLE DE LA SUES ROMANCE CHILLY ทรงได้รับประกาศนียบัตร “บาเชอลิเย เอ แลทร์” จากการศึกษาดังกล่าว ทรงรอบรู้หลายภาษา ได้แก่ อังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส และละติน ต่อจากนั้น ในระดับอุดมศึกษาทรงเข้าศึกษาในแผนกวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมืองโลซานน์ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ได้เสด็จนิวัติกลับประเทศไทยพร้อมด้วยพระบรมเชษฐาธิราช พระบรมราชชนนี และสมเด็จพระนางเจ้าพี่นางเธอ

ทรงประสบอุบัติเหตุ

หลังจากพระองค์จบการศึกษาจากสวิตเซอร์แลนด์ ได้เสด็จมาเยือนกรุงปารีส ทรงพบกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ซึ่งเป็นธิดาของเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นครั้งแรก ในขณะนั้นทั้งสองพระองค์มีพระชนมายุ ๒๑ พรรษา และ ๑๕ พรรษาตามลำดับ

เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ ขณะที่พระองค์ทรงขับรถยนต์พระที่นั่งเฟียส ทอปอลิโน จากเจนีวาไปยังโลซาน ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ กล่าวคือ รถยนต์พระที่นั่งชนกับรถบรรทุกอย่างแรง ทำให้เศษกระจกกระเด็นเข้าพระเนตรขวา พระอาการสาหัส หลังการถวายการรักษา พระองค์มีพระอาการแทรกซ้อนบริเวณพระเนตรขวา แพทย์จึงถวายการรักษาอย่างต่อเนื่องหลายครั้ง หากแต่พระอาการยังคงไม่ดีขึ้น กระทั่งวินิจฉัยแล้วว่าพระองค์ไม่สามารถทอดพระเนตรผ่านทางพระเนตรขวาของพระองค์เองได้ต่อไปแล้ว จึงได้ถวายการแนะนำให้พระองค์ทรงพระเนตรปลอมในที่สุด

พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓

ทรงประกอบพิธีราชาภิเษกสมรส กับ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ณ วังสระปทุม เมื่อใกล้ถึงเวลาพระฤกษ์ (เวลา ๐๙.๓๐ น.) หม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร ทรงนำหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ไปยังวังสระปทุม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ลงนามในสมุดทะเบียนสมรสตามกฎหมายเช่นเดียวกับประชาชน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ราชสักขี ๒ คน คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี กับพลเอกมังกร พรหมโยธี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ร่วมลงนามด้วย จากนั้นสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ประทานน้ำพระพุทธมนต์ เทพมนต์ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระราชทานน้ำพระพุทธมนต์ เทพมนต์แก่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ตามโบราณราชประเพณี และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ขึ้นเป็น “สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์”

ทั้งสองพระองค์มีพระราชธิดา และพระราชโอรส ๔ พระองค์ดังนี้

  1. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติเมื่อ ๕ เมษายน ๒๔๙๔ ณ โรงพยาบาลมองซัวนี่ โลซานน์
  2. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ ประสูติเมื่อ ๒๘ กรกฎาคม ๒๔๙๕ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ต่อมา ทรงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๑๕
  3. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลนโสภาคย์ ประสูติเมื่อ ๒ เมษายน ๒๔๙๘ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ภายหลังทรงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๒๐
  4. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติเมื่อ ๔ กรกฎาคม ๒๕๐๐ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน

พระบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณขัตติยราชประเพณี ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระมหาราชวัง เฉลิมพระปรมาภิไธยตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า

“พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร” และได้พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”

ในการนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศ สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ พระอัครมเหสีเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี

ทรงพระผนวช เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๙

พระองค์ทรงพระผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง และประทับจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวิหาร ปฏิบัติพระศาสนกิจ เป็นเวลา ๑๕ วัน ขณะนั้นได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต่อมาจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

สวรรคต เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙

ตั้งแต่วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระปรอทต่ำ หายพระทัยเร็ว มีพระเสมหะ พระปับผาสะซ้ายอักเสบ มีพระโลหิตเป็นกรด และพบว่ามีน้ำคั่งในช่องเยื่อหุ้มพระปัปผาสะเล็กน้อย คณะแพทย์จึงทำการรักษาด้วยพระโอสถปฏิชีวนะ และใช้สายสวนเข้าหลอดพระโลหิตดำเพื่อฟอกพระโลหิต แต่มีพระความดันพระโลหิตต่ำจึงใช้เครื่องช่วยหายพระทัย พระอาการไม่คงที่ ก่อนที่พระอาการจะทรุดลงไปอีก มีการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต  พระอาการประชวรได้ทรุดหนักลงตามลำดับ และสวรรคตเมื่อเวลา ๑๕.๕๒ น. รวมพระชนมายุ ๘๘ พรรษา

อัพเดทความรู้รอบตัวใหม่ๆทาง Facebook คลิกเลย!!